
พระซุ้มกอลงรักปิดทอง พิมพ์สองหน้า กรุวัดทัพข้าว เป็นพระชุดเบ็ญจภาคี สมัยรัตนโกสิน ยุคสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
พิมพ์นี้หาชมได้ยากมากในปัจจุบัน
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปีพ.ศ.2392 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ และ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
จากหลักฐานการศึกษาเทียบเคียงทั้งหลาย มีข้อสันนิษฐานที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า "พระซุ้มกอกำแพงเพชร" สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย และ ปลุกเสกโดยพระฤๅษี
ดังนั้น"พระซุ้มกอกำแพงเพชร" จะมีอายุการสร้างนับจนถึงปัจจุบันก็ราวประมาณ 700-800 ปี
พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระที่ขึ้น ณ ลานทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร ซึ่งมีการค้นพบในหลายกรุ อาทิ กรุวัดบรมธาตุ, กรุวัดพิกุล, กรุวัดฤๅษี ฯลฯ ต่อมาได้รับการยอมรับ และ ยกย่องให้เข้าเป็นหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี" เพื่ออาราธนาขึ้นคอแทน "พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน" เนื่องจากมีความสมดุลมากกว่า ด้วยพุทธศิลปะขององค์พระที่มีอิทธิพลของลังกา และ องค์พระสง่างามหนาใหญ่อันแสดงให้เห็นในศิลปะสุโขทัยอย่างชัดเจน.
พระกำแพงซุ้มกอแบ่งออกได้เป็นแบบมีกนก และ แบบไม่มีกนก มีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ พระพิมพ์ที่พบเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเนื้อดิน คือมีความละเอียด และ อ่อนนุ่มมากเหมือนกับเนื้อดินดิบ มีหลากหลายสีขึ้นอยู่กับการเผา ดังเช่นพระดินเผาทั่วไป นอกจากนี้จะปรากฏเม็ดสีแดงเล็กๆ อยู่เป็นบางจุดขององค์พระ เรียกกันว่า "ว่านดอกมะขาม" เนื่องจากสีแดงคล้ายเม็ดมะขาม และ ซุ้มเป็น "ตัว ก ไก่" อันเป็นที่มาของชื่อองค์พระ.
พระต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่ผ่านการล้าง แตกหัก หรือบิ่น ไม่หักเปอร์เซ็น ภายในเวลาที่กำหนดค่ะ