
พระเครื่องชุดภูทราวดี พิมพ์พระยอดขุนพล ปี 2506 เป็นพระคะแนน 100 ซึ่งมีจำนวนน้อย สภาพสวย จากบันทึกของขุนพันธ์ชื่อ เรื่องอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เขียนเมื่อปี พ.ศ 2520 ได้กล่าวว่า พ.ศ 2505 พล.ต.ท ประชา บูรณธนิต ได้สร้างพิมพ์ ภูทราวดี ด้วยผงว่าน ยาแก้-ยากันต่างๆ ผงพระ ผงวิเศษ ดินเสื้อเมือง-หลักเมือง ตะไคร่จากพระธาตุเจดีย์ทั่วประเทศ ดินท้องถ้ำ ดินยอดเขาที่มีชือเป็นมงคล ดินสังเวชนีย์สถานจากอินเดีย โดย พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล ทรงประทาน และได้เททองหล่อพระประธานแบบทวาราวดี ถวายวัดพระปฐมเจดีย์ สร้างศาลากตัญญูธรรมไว้ที่หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระซึ่งหล่อขึ้นในครั้งนั้น ได้สร้างพระกริ่งภูทราวดี ด้วยเนื้อทองนวโลหะ
พระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นครั้งนั้น ได้นำไปแจกตำรวจ ทหารทั่วประเทศ บุคคนทั่วไปตามสมควร ไม่มีการให้เช่า โดยพิธีการจัดสร้างนั้นละเอียดทุกขั้นตอน ตั้งแต่เจตนาการสร้าง การคัดสรรมวลสาร พิธีพุทธาพิเษกที่ปลุกเสกกันถึง 3 ครั้ง
พระเครื่องชุดภูทราวดีนี้ มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่าน และสีดำที่ผสมผง ซึ่งส่วนผสมสำคัญของพระเครื่องเนื้อดินผงชุดภูทราวดีนี้ได้แก่ :
1. ดินจากสังเวชนีย์สถาน ทั้ง 4 แห่งในประอินเดีย
2. ว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่างๆ และว่านหายากชนิดต่างๆ ประมาณ 400 ชนิด
3. ดินจากหลักเมืองและจากภูเขาที่เป็นสถานที่มีชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร
4. ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญๆ เช่น จากพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ,จากวัดบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ
5. พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา ผงจากพระคณาจารย์ทั่วราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น
ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์ จาก พิธีสำคัญต่างๆ ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ จำนวน 168,000 องค์ ทุกๆ 100 องค์ จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกไป 1 องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา พระพิมพ์ทวารวดี พระพิมพ์วัดประตูทอง เป็นต้น
รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนน พิมพ์ละประมาณไม่เกิน 1,680 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก 5 นิ้ว ที่ไม่สามรถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้ ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่ง พระบูชาภูธราวดี ซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะ ซึ่งก่อนการจัดสร้าง พระเนื้อโลหะ ได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน ทอง นาค ดีบุก ให้คณาจารย์ต่างๆ ทั้งที่มาร่วมพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วมพิธีลงจารอักขระ มาด้วย
พิธีพุทธาภิเษกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกันได้แก่ : ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำกันอยู่เป็นเดือนๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ
ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อจะต้องนุ่งขาวห่มขาว รับศีลสมาทานทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้ามาในพิธี ต้องประพรมน้ำพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องถือพรหมจรรย์ ห้ามรับของต่อมือผู้หญิง รวมถึงห้ามคนนอก และผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ ต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา 9 รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรมด้วยน้ำมันจันทน์หอมอย่างดี จึงจะนำเข้าพิธีพุทธาพิเษกต่อไป
เป็นเรื่องแปลกขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลม ตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหาย แต่ในเขตพิธีของวิหารหลวง ไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลย แม้แต่กระเบื้องมุงหลังคาสักแผ่นเดียว
พิธีพุทธาพิเษก ที่ จ.นครศรีธรรมราช มีเกจิอาจารย์สำคัญของภาคใต้เข้าร่วมพิธีแทบทุกองค์ โดยเฉพาะ เกจิอาจารย์สายเขาอ้อ อาทิเช่น :
- อาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
- อาจารย์คง วัดบ้านสวน
- หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
- อาจารย์นำ แก้วจันทร์ ( ขณะนั้นยังเป็นฆราวาส ยังไม่ได้บวช อยู่ในสมณะเพศ )
- พ่อท่านเขียว วัดหรงบล ฯลฯ ร่วมในพิธีครั้งที่ 3
ทำพิธีพุทธาพิเษก ที่ จ.นครปฐมมีทั้งพราหมณ์ พระไทย จีน พระญวน ในนิกายต่างๆ รายนามพระคณาจารย์ต่างๆ เท่าที่รวบรวมได้ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า เข้าร่วมพิธีพุทธาพิเษกของพระเครื่องชุดภูธราวดีได้แก่ :
1. สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานพิธีที่หน้าองค์พระปฐม เมื่อ 24 เมษายน 2506
2. พระมหาวีรวงศ์ - เดียวกับสมเด็จพระสังฆราช
3.พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
4. พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน
5. หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
- พล.ต.ท. ประชา บูรณธนิต
ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทางสายปราบปราม เคยพิชิตเสือชื่อดังต่างๆ ในยุคหลังสงครามโด่งดังในภาคกลางมากมายเช่น เสือใบ เสือเจริญ เสือผาด,ท่านมีฉายาว่าเป็นมือปราบหนังเหนียว เนื่องจากการปะทะกับพวกโจรขณะเดินทางจากนครปฐม เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2495 โดยปรากฏหลักฐานว่า ในขณะเกิดเหตุ ท่านพกพระท่ากระดาน และลูกอมของ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ( คงจะเป็นสาเหตุให้ พระท่ากระดาน มีราคาสูง มาตั้งแต่ครั้งนั้น )
- พล.ต.ต.ขุนพันธ์ รักราชเดช นามเดิมชื่อ บุตร์ พันรักษ์
ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทางสายปราบปรามเช่นกัน มีฉายาเป็นภาษายาวี " รรยอกะจิ " เคยพิชิตเสือร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางภาคใต้ทางแถบเทือกเขาบูโด จ.นราธิวาส เช่น ขุนโจร อาแวสะดอ ที่กล่าวกันว่าหนังเหนียวเพราะเขี้ยวหมูทองแดง อ้ายดำหัวแพร เป็นต้น ท่านเป็นศิษย์ฆราวาสของสำนักเขาอ้อที่โด่งดัง
นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญที่ช่วยในการจัดเตรียมวัสดุมงคลเพื่อการจัดสร้างพระโดย พลตรีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล แต่มูลเหตุหลักในการจัดสร้างพระเครื่องชุดนี้ นอกเหนือจากศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนา ของ คณะผู้ร่วมจัดสร้างแล้ว ยังต้องการจะนำไปแจกจ่ายให้ผู้ศรัทธาและมีปรากฏในบันทึกของ พล.ต.ท. ประชา ว่าได้มีการจัดสร้างพระเครื่องชุดนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โดยรายการที่จัดพระเครื่องทูลเกล้าถวาย มีดังนี้:
1. พระเครื่องภูธราวดี 309 องค์ ในจำนวนนี้มีเลี่ยมทองคำ รวม 5 องค์
2. พระเครื่องคะแนน ปางปฐมเทศนา จำนวน 3 องค์
3. พระเครื่องคะแนนพิมพ์พระนางตรา จำนวน 3 องค์
4. พระเครื่องคะแนนพิมพ์ประตูทอง จำนวน 3 องค์
5. พระกริ่งภูธราวดี สร้างด้วยนวโลหะ จำนวน 2 องค์
6. พระกริ่งยอดธงภูธราวดี สร้างด้วยนวโลหะ จำนวน 9 องค์ ( จัดสร้างเฉพาะเพื่อทูลเกล้าถวาย 9 องค์เท่านั้น )
นับได้ว่าเป็นพระเครื่องอีกชุดหนึ่งที่มีเจตนาสร้างดี มวลสารดี พิธีเยี่ยม มีพุทธคุณไม่แพ้ใครในประสบการณ์ของผู้ที่เคย บูชา พกติดตัวมาแล้วนับไม่ถ้วน